วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

กระบวนการสื่อสาร

.....กระบวนการสื่อสารมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตตลอดชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยการสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอน

การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระความรู้สึก เจตคติ ทักษะ ค่านิยม ตลอดจนประสบการณ์จากแหล่งกำเนิดหรือบุคคลฝ่ายหน่ง เรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับ" เพื่อให้ผู้รับร่าวมรับรู้สาระได้อย่างถูกต้องหรือคล้ายคลึง หรือจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยาท่าทางหรือสัญลักษณ์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเข้าใจและความรู้สึกร่วมกันหน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร
.......1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
.......2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ
.......3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
.......4. การสื่อสารส่วนบุคคล
.......5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
.......6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการรูปแบบของการสื่อสารแต่ละรูปแบบมีลักษณะสลับซับซ้อนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผู้ส่งและผู้รับ การรู้จักเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละโอกาสจะช่วยให้กระบวนการสื่อสารแต่ละครั้งประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบของการสื่อสารจำแนกได้ดังนี้
..........6.1 การจำแนกตามลักษณะของการสื่อสาร
...............6.1.1 การสื่อสารด้วยภาษา เป็นภาษาที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร
...............6.1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เป็นภาษาที่ไม่ใช่คำพูดหรือการเปล่งเสียงหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
...............6.1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ ภาษาที่เกิดจากการขีดเขียนเป็นรูปภาพ
..........6.2 จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง
................6.2.1 สื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีปฏิสัมพันธ์กันและกันโดยตรงเนื้อหาและวัตถุประสงค์
................6.2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่อาศัยสื่อหรือวิธีการต่างๆ เป็นพาหนะในการถ่ายทอดเนื้อหา
..........6.3 จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ
................6.3.1 การสื่อสารทางเดียว เป็นสื่อสารที่ผู้ส่งเป็นกระทำแต่ฝ่ายเดียว
................6.3.2 การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีโอกาสโต้ตอบกันได้ทันทวงที
..........6.4 จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร
...............6.4.1 การสื่อสารในตนเอง ตัวเองเป็นผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน
...............6.4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล สื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน อาจแลกเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและผู้รับ
...............6.4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล มีจำนวนผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล
...............6.4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารกับกลุ่มชนจำนวนมากกมายมหาศาล

อุปสรรคในการสื่อสาร
.......1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถ
.......2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง
.......3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับ
.......4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน ภายนอกและภายใน
.......5. สารมีความยาวไม่เหมาะสม
.......6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นการสื่อสารแบบสองทางผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาเรื่องราวต้องเหมาะกับธรรมชาติของผู้รับการสื่อสารกับการรับรู้และการเรียนรู้การรับรู้ สิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลายรับข้อมูลข่าวสารในระยะแรกนำเข้าสู่สมอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่ พฤติกรรมใหม่ ที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเรียกว่า


การเรียนรู้แบบจำลองของการสื่อสาร
.......1. แบบจำลองของลาสเวลล์
.......2. แบบจำลองของแวนนอนและวีเวอร์
.......3. แบบจำลองของ-เบอร์โล
.......4. แบบจำลองการสื่อสารของบาร์นลันด์การสื่อสารในการเรียนการสอนควรคำนึงถึงกระบวนการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน

การสื่อสารในการเรียนการสอน
.......1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน
.......2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
.......3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
.......4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน


บทสรุป การสื่อสารกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้สึกนึกคิดประกอบด้วย ผู้ส่งเนื้อหา สาระสื่อหรือช่องทางและผู้รับการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการรับรู้และการเรียนรู้ มีจุดประสงค์และกระบวนการเหมือนกัน
ทฤษฎีแบบโครงสร้างของสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford’s Structure of intellect Model)มีลักษณะเป็น 3 มิติ

.....มิติที่ 1 เนื้อหา (Content)
...........1. ภาพ (Figural) หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญญาณต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร โน้ตดนตรี สัญญาณจราจร เป็นต้น
...........2. สัญลักษณ์ (Symbolic) หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญญาณต่าง ๆ เช่น ตัวเลข โน้ตดนตรีสัญญาณจราจร เป็นต้น
...........3. ภาษา (Verbal) หมายถึง ความหมายที่เป็นถ้อยคำต่าง ๆ
...........4. พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกต่างๆ ของบุคคล เช่น ความต้องการ ทัศนคติและอารมณ์เป็นต้น

.....มิติที่ 2 วิธีการคิด (Operation)
............1. การรู้ (Cognition) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะรู้จัก หรือค้นพบและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ
............2. การจำ (Memory) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะจำสิ่งต่าง ๆ ได้ หรือสามารถระลึกได้
............3. การคิดแบบเอนกนัย (Divergent Thinking) หมายถึง ความสามารถที่จะคิดหรือกระทำตอบต่อสิ่งต่าง ๆ ได้หลายทาง เช่น

...............หน้าตาสวย(R1)(S1) เห็นผู้หญิงเดินมา (มองแล้วเกิดความคิด) แต่งกายดี (R2)รูปร่างดี (R4)ท่าทางสง่า (R4)
............4.การคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่คิดกระทำตอบต่อสิ่งต่าง ๆ ในทางที่ดีที่สุด หรือหาคำตอบที่ถูกต้องสมเหตุสมผลที่สุดเพียงคำตอบเดียว เช่น
...............(S1) เห็นคนยืนมุงกันแน่น

...............(S2) มีตำรวจยืน เกิดอุบัติเหตุ (R1)
...............(S3) รถติดยาว
...............(S4) เศษกระจกเกลื่อนถนน

............5.การประเมินค่า (Evaluaiton) หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ในการพิจารณาตัดสินหรือประเมินคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องดีสมเหตุผล โดยอาศัยกฎเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือมาอ้างอิง
.....มิติที่ 3 ผลของการคิด (Product)
.....1. หน่วย (Unit) หมายถึง สิ่งย่อยที่สุดของสิ่งต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวไม่เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ เช่น นกฮูก นกเอี้ยง นกพิราบ เป็นต้น ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ในตัวเอง แต่จะเล็กว่า Class
.....2. จำพวก (Class) หมายถึง กลุ่มต่าง ๆ ทีมีคุณสมบัติร่วมกัน เช่นนกฮูก นกเอี้ยง นกพิราบ ต่างก็จัดเป็นจำพวกนก
.....3. ความสัมพันธ์ (Relation) หมายถึง ความเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ เช่น พ่อคู่กับแม่ ชายคู่กับหญิง หรือ แมวอยู่บนบก ปลาอยู่ในน้ำ เป็นต้น
.....4. ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน โดยมีหลักเกณฑ์รวมกันอยู่อย่างหนึ่ง หรือมีแบบแผน เช่น เลขชุด 1 3 5 7 9 จัดเป็นระบบเลขคี่ ส่วน 2 4 6 80 10 จัดเป็นระบบเลขคู่
.....5. การแปลงรูป (Transformation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับปรุง ดัดแปลง สิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปใหม่ เช่น การให้คำนิยาม ย่อความ หรือขยายความ เป็นต้น
.....6.การประยุกต์ (Implication) หมายถึง การนำไปใช้ การคาดคะเน การคาดหวัง หรือการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นตามมา
อย่างมีเป้าหมายอย่างมีเหตุผลและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ”

R-raven